All Log
All 
General
General

Homofaber

22.6.2020
Homofaber I & II

โฮโมเฟเบอ (Homofaber) ภาษาละติน แปลว่ามนุษย์ผู้เป็นผู้สร้างทำ (Man the maker) ในนิทรรศการนี้ยกคำดังกล่าวเป็นชื่อนิทรรศการเพื่อกล่าวถึงมนุษย์ (ศิลปิน) ผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยมือตนเอง ผู้มีทักษะฝีมือ หรือบางครั้งอาจมีความหมายรวมถึงแนวคิดว่ามนุษย์สามารถกุมชะตาชีวิตตนเองได้ผ่านการสร้างเครื่องมือที่ตอบสนองต่อการสร้างสรรค์ของตน นิทรรศการนำเสนอผลงานต่างๆที่สร้างขึ้นด้วยความชำนาญด้วยรากฐานของงานหัตถกรรม แม้ผลงานเหล่านั้นจะมิได้มีหน้าที่ในการตอบสนองหน้าที่ใช้สอยประจำวันแต่กลับตอบสนองต่อวิธีคิดทางศิลปะร่วมสมัย *

นิทรรศการนี้สำรวจงานศิลปะร่วมสมัยโดยศิลปินที่ใช้กระบวนการที่มีรากฐานมาจากหัตถกรรม กล่าวคือการแสดงออกผ่านวัสดุและทักษะการจัดการวัสดุเป็นสำคัญ Jennifer Forsberg ศิลปินชาวสวีเดนซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมนิทรรศการนี้ได้กล่าวไว้ในสูจิบัตรว่า “I am interested in how material, structure, weight, texture,  color, form, -objects- holds meaning that goes further than the object itself - it becomes a vocabulary of its own.” ศิลปินมองหาความหมาย และ/หรือ ภาษา ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุและกระบวนการของมัน

ผลงานของศิลปิน 7 คนจากประเทศสวีเดนและประเทศไทยในนิทรรศการมาจากทักษะฝีมือในด้านต่างๆ เช่น เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา งานกระดาษ และงานสิ่งทอ เป็นต้น ส่วนที่น่าสนใจนอกเหนือการนำงานมาแสดงร่วมกันคือมีช่วงเวลาของโครงการราวสี่สัปดาห์ ที่ศิลปินจากสวีเดนเดินทางมาใช้เวลาในประเทศไทย และร่วมปฎิบัติงานสร้างสรรค์โดยจับคู่กับศิลปินไทยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในงานแสดงด้วย

Jennifer Forsberg-Pim Sudhikam (Ceramic)

Jenny Klemming-Likaybindery (Mali Chaturachinda and Phantipa Thanchookiet) — (Jewelry and paper art)

Karin Gustavsson-Imhathai Suwatthanasilp - (Fiber art)

Homofaber I (2015) Homofaber II (2017)

การสื่อสารของพวกเรามากจากสิ่งที่ค้นพบระหว่างการลงมือทำ มาจากตัววัสดุและการเปลี่ยนแปลงของมัน และเมื่อเราตั้งโจทย์ให้เกิดการทำงานร่วมกันดังนั้นเวลาส่วนใหญ่จึงถูกใช้ไปในสตูดิโอ ผ่านการทำงานโต้ตอบกัน ทำแล้วเห็นสิ่งใดออกมาจึงเคลื่อนต่อไป แน่นอนว่ามีเป้าหมายตั้งไว้เพื่อชี้ทาง และสำรวจแนวความคิดแวดล้อมขณะดำเนินไปหาเป้าหมายนั้น ข้าพเจ้าทำงานกับเจนนิเฟอร์ ซึ่งเป็นเรื่องง่ายดายและสนุกสนานเพราะเรารู้จักกันมาก่อนเป็นเวลานาน กล่าวคือนางเป็นเพื่อร่วมชั้นเรียนสมัยปริญญาโทที่ประเทศสวีเดน แม้ว่านั่นจะเนิ่นนานมาแล้ว (1996-1998) และเราไม่ได้พบกันบ่อยนัก

เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา งานที่ตั้งใจทำร่วมกันที่ประเทศไทยก็เลยยกมาทำที่ห้องปฎิบัติการของภาควิชา โดยเชิญชวนนิสิตจำนวนหนึ่งมาร่วมด้วย พวกเราตั้งโจทย์การทำงานกับดินให้ทุกคนเสนอ “วงกลม” ในรูปแบบของตน กำหนดให้แต่ละชิ้นมีขนาดไม่ต่างกันมาก ต้องการให้ทำได้โดยไม่ยากนักเพื่อให้ทำออกมาเป็นจำนวนมาก สุดท้ายแล้วจะประกอบกันเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่งที่เป็นผลงานของทุกคน ชิ้นงานย่อยๆของทุกคนส่วนหนึ่งถูกนำไปเผาร่วมกันในการเผารมควัน ในเตาแบบถังน้ำมัน ทำให้ได้ชิ้นงานสีดำสนิท ในขณะที่บางส่วนเผาในเตาไฟฟ้าเป็นสีส้ม เมื่อเผาแล้วชิ้นงานก็แข็งแรงเพียงพอที่จะนำมาประกอบกันเป็นชิ้นใหญ่ การประกอบใช้เข็มขัดรัดสายไฟ (cable tie) แข็งแรงและจัดการง่ายดี ตอนแรกประกอบไว้เป็นแผ่นไม่ใหญ่มากเพื่อให้การขนย้ายทำได้ง่าย แล้วจึงไปรวมกันเป็นผืนใหญ่ในห้องนิทรรศการอีกที

*บทภัณฑารักษ์โดย ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ จากสูจิบัตรนิทรรศการ พ.ศ. 2558

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?
What’s a Rich Text element?

The rich text element allows you to create and format headings, paragraphs, blockquotes, images, and video all in one place instead of having to add and format them individually. Just double-click and easily create content.

Static and dynamic content editing

A rich text element can be used with static or dynamic content. For static content, just drop it into any page and begin editing. For dynamic content, add a rich text field to any collection and then connect a rich text element to that field in the settings panel. Voila!

How to customize formatting for each rich text

Headings, paragraphs, blockquotes, figures, images, and figure captions can all be styled after a class is added to the rich text element using the "When inside of" nested selector system.

This is a caption text.