All Log
All 
General
General

Third Wave Craft Podcast

6.5.2021

ต่อไปนี้คือบันทึกคำร่างสำหรับให้สัมภาษณ์ใน podcast อันหนึ่ง ซึ่งผู้สัมภาษณ์ได้เตรียมคำถามไว้ในหัวข้อต่างๆ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้เกิดการสัมภาษณ์เพราะหลายสาเหตุ

ความเชื่อมโยงระหว่างช่างและวัสดุมันลึกซึ้ง

ทำไมทำงานกับเซรามิก

คำตอบเรียบง่ายมาก มันเริ่มมาจากการที่เราชอบสิ่งประดิษฐ์และชอบรู้ว่าอะไรทำมาจากอะไรอย่างไร ทำให้นำไปสู่การอยากเรียนไอดี

ในเวลาต่อมาเราเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่าความพึงพอใจนี้มาจากความทะนงในการได้กำหนดชะตาชีวิตตัวเอง กำหนดรูปแบบของสิ่งที่ตัวเองจะใช้โดยการทำมันขึ้นมาด้วยมือ

อาจจะเป็นเหมือนความหยิ่งที่เห็นว่าไม่มีอะไรในท้องตลาดจะดีพอ ต้องทำขึ้นมาดีกว่า ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่จริง ฮ่าๆ ไม่ได้ถูกกว่าด้วย ส่วนมากจะแพงกว่า.... แต่ทุกครั้งที่ได้เรียนรู้ทักษะอะไรใหม่ๆจะพึงพอใจอิ่มเอมใจเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่เรียกว่าทักษะ มันเป็นสิ่งที่ใครก็เอาไปจากเราไม่ได้ ใครจะเอามาให้เราก็ไม่ได้ และมักจะเกี่ยวเนื่องกับการทำแล้วทำอีกเป็นเวลานานๆ

เรียนไอดีแล้วก็เลยได้เรียนเซรามิก มันก็แค่นั้นเอง พอเรียนเซรามิกจึงเข้าสู่อีกโลกของวัสดุ ที่เราในฐานะเมกเกอร์ สามารถมีส่วนในกระบวนการมากแค่ไหนก็ได้ หรือน้อยแค่ไหนก็ได้ (แต่ส่วนใหญ่คนที่เรียกตัวเองว่าเซรามิสต์ก็จะมีส่วนในกระบวนการอย่างมากๆๆ)

เรามีส่วนร่วมได้มากจนถึงการทำเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับสิ่งนั้น การสร้างเตา การเสาะหาวัสดุ ถ้าต้องการ ที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการทำเซรามิกนั้นมีมาร่วมหมื่นปีแล้ว แปลว่ามันเกิดขึ้นในท่ามกลางความจำกัดมากๆ ถ้าหมื่นปีที่แล้วเค้าทำกันได้เราก็ต้องทำไ้ดด้วย นอกจากนั้นหลายครั้งเรายังรู้สึกถึงความโรแมนติกของการทำสิ่งเดียวกับคนที่เดินอยู่บนโลกนี้เมื่อหลายพันปีที่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะรู้สีกกดดันที่จะต้องทำสิ่งใหม่จากวัสดุที่มีคนทำมาเป็นพันๆปีและน่าจะเคยทำทุกอย่างเท่าที่จะนึกกันออกมาแล้ว

pieces being born, not made:

อันนี้มาจากว่า การทำงานกับดินนั้นเป็นการเรียนรู้วัสดุก่อนเป็นอันดับแรก ธรรมชาติของมันเป็นอย่างไรและการควบคุมเป็นอย่างไร แปลว่าสองส่วนที่จำเป็นมากคือคนและดิน ผลงานที่น่าสนใจมักจะสะท้อนทั้งสองส่วนนี้ จะมีคนมากเกินไปก็ไม่ได้ และบางทีดินก็อาจจะไม่ยอม จะมีดินมากเกินไปก็ไม่ได้เพราะว่าฉันก็อยากฝากอะไรไว้ในโลก และต้องเป็นสิ่งที่มีแต่ฉันคนเดียวที่ทำได้ แต่ฉันก็ต้องการมอบสิทธิในการกำหนดรูปร่างให้แก่วัสดุเองบางส่วน

และฉันคิดว่าการบาลานซ์สิ่งนี้เป็นเป้าหมายตลอดชีวิตการทำงาน ที่ไม่อาจไปถึงได้ง่ายๆหรือได้มาโดยทันที เพียงแต่ยิ่งทำไปยิ่งน่าจะชัดเจนและเฉียบคมขึ้น

ทำถ้วยสีขาว การทำซ้ำๆทำให้มีความสุข repetition ในโลกของเซรามิกนั้นเป็นสิ่งขาดไม่ได้ เพราะมันเหมือนการฝึกฝน ทำซ้ำๆเพื่อให้เกิดความช่ำชองและทำได้ดี กระบวนการทำซ้ำๆเป็นเหมือน คอนเซปท์ของ cyclical time หรือฤดูกาล ในสตูดิโอจึงเหมือนเป็นศาสนสถานสำหรับฉัน เป็นที่ที่ได้คิดและเข้าใจอะไรๆที่เป็นนามธรรม

making and doing

ฉันคิดว่าฉันคิด/ออกแบบ ด้วยมือ คือต้องลองมือทำไปก่อนโดยไม่สามารถวางแผนมากนัก ทำไปก่อนแล้วค่อยมาย้อนดู มาอธิบาย

Sketch ก็มีเยอะมาก แต่มันไม่ต่อเนื่องกัน เขียนไรไว้เยอะ แต่เวลาจะทำไม่เคยดู เขียนแล้วก็เขียนอีก บางทีทำแล้วก็เขียน และความคิดที่คิดว่ามันไม่ได้สเก็ตช์มาก่อน บางทีมันก็แอบแทรกตัวเข้ามาอย่างเงียบๆ ผ่านทางจิตใต้สำนึก

นอกจากนั้นฉันคิดว่าฉันทำงานสะเปะสะปะไปหน่อย เนื่องจากมักจะห้ามตัวเองไม่ได้ที่จะทำงานเป็นรีเอคชั่นกับสภาพแวดล้อม อันนี้สังเกตจากเวลาไปเรสสิเดนซี่ แล้วพบกับดินชนิดอื่นๆหรือสิ่งแวดล้อมชนิดอื่นๆ ก็อดไม่ได้ที่จะต้องทำไรสักอย่างเกี่ยวกับสิ่งนั้น หรือใช้สิ่งนั้นเป็นข้อกำหนด ฉันว่าฉันชอบมากกับการมีข้อจำกัดและพยายามทุกวิถีทางที่จะทำงานที่น่าสนใจภายใต้ข้อจำกัดนั้น (ทั้งๆที่คนอีกมากมายเลือกทำงานโดยไ้ร้ข้อจำกัด )

ceramic practice

ทำงานระหว่างเป็นศิลปินเซรามิกกับศิลปินร่วมสมัย อืม ยังไง ก็ว่ามาสิ คือสำหรับฉัน ยังไงก็จะทำงานกับดินใช่ไหม แต่แน่นอน ฉันอยากจะ leave some marks with my name on it. ดังนั้นฉันก็ต้องการเปิดพื้นที่ใหม่ๆที่ทำได้ด้วยดินด้วยไง มันเหมือนกับไม่มีทางเลือกเพราะว่าฉันติดอยู่ในกับดักของวัสดุที่มีคนทำแล้วทำอีกมาหลายพันปีแล้วอะนะ ตลอดมาฉันคิดว่าฉันเป็นคน “เลือก” ทำงานกับดินด้วยความสมัครใจ แต่เอาเข้าจริงๆแล้วตอนนี้ค้นพบว่า อ้าว มันไม่ได้เป็นความ “สมัครใจ” ไปซะทั้งหมดนี่หว่า ฉันไม่มีทางเลือก ฉันสื่อสารกับโลกนี้ด้วยวิธีอื่นไม่เป็นแล้วนอกจากด้วยการทำงานกับดิน เพื่อนสนิทคนหนึ่งบอกว่า “หน้าอย่างแกจะไปทำอะไรอย่างอื่นได้ ไม่มี” ซึ่งก็เป็นความจริงมากๆและน่าจะเป็นคำชมด้วยมั้ง

Breccia

ตอนแรกมันก็มาจากการเล่นบ้าบอในสตูดิโอ ทดลองการเผาด้วยวิธีแปลกๆ ซึ่งก็ไม่ได้ใหม่หมดจดในโลกของเซรามิก แต่โดยการผสานกับวัสดุเคลือบ ซึ่งก็ไม่ได้ใหม่ และผสานกับรูปทรงและการสร้างร่องรอยหรือผิวสัมผัส ซึ่งก็ไม่ได้ใหม่ แต่พอเอามารวมกันแล้วมันก็ได้รูปลักษณ์อะไรที่น่าสนใจสำหรับฉัน หลังจากการทำซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ได้หน้าตาที่น่าสนใจ และผลตอบรับก็ค่อนข้างดีเพราะว่ามันขายไปจนหมด ก็แปลว่าสื่อสารสำเร็จ

ตอนนี้ได้ทุนจากจุฬาเพื่อทำวิจัยและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการนั้น

โลคัล อินเตอร์ เก่าใหม่ ทำให้คราฟ น่าสนใจ

ก็ใช่น่ะสิ อย่างที่บอกมาแต่ต้นว่า มันเป็นของเก่าแก่มาก และเราต้องหาความเป็นไปได้ใหม่ๆให้มัน นั่นคือหน้าที่ของเรา ให้สมกับที่ได้เกิดมาในโลกนี้

ธุรกิจ

ฮ่า อย่ามาถามเลย ถามผิดคนมากๆ ขายงานผ่านนิทรรศการ มีร้านอยู่ร้านนึงที่วางงานขาย มีเวบที่มาเสนอให้วางงานในเวบ ซึ่งก็ทำ แต่ก็ไม่ได้การตอบรับอะไร

มีคนติดต่อมาจากการเห็นเวบฉันด้วย มีคนจ้างทำงานเป็นโปรเจคด้วย สตูลิ้นวัวนั้น เป็นสิ่งที่อ้างถึงสถานที่มากกว่าธุรกิจ แต่บางครั้งเรามีสมาชิกที่มารวมตัวกันได้อย่างหลวมๆ เพื่อทำโปรเจคที่ใหญ่กว่าคนเดียวจะทำได้ แต่อย่างที่บอก ฉันไม่ใช่คนที่คุณควรถามเรื่องธุรกิจเพราะห่วยมาก และเพราะว่าฉันไม่อยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องดิ้นรนทางการเงินเลย เนื่องจากมีงานประจำเป็นอาจารย์

บางทีรู้สึกผิดเวลาชักชวน หรือบันดาลใจให้เด็กรุ่นใหม่มาทำงานเซรามิค มาเป็นศิลปิน มาทำสตูดิโอ รู้สึกผิดเพราะว่าได้แต่ชวนมา แต่ไม่เคยบอกได้ว่าจะอยู่รอดได้ยังไง หาเงินยังไง แต่พอดูๆจริงๆแล้วเขาเก่งกันมาก ไม่มีปัญหาในการหาเงินเลย ตอนหลังก็เลยไม่ค่อยรู้สึกผิดเท่าไหร่

(ใจจริงก็อยากให้มีแกลอรี่ที่ทำงานกับคอนเทมเซรามิกโดยตรง แต่น่าเสียดายที่เมืองไทยไม่มีสิ่งนี้)

artist run เป็นแกลอรี่คอนแทมอาร์ต อันหนึ่ง ซึ่งฉันกำลังจะไปทำโปรเจคด้วย จริงๆกำลังทำอยู่ ร่วมกับอ้อ ตอนที่คุยกับภัณฑารักษ์คืออยากให้ทำอะไรที่ไม่เหมือนที่เคยทำ ไม่อยากแสดงงานเซรามิคแบบที่ทำกันทั่วไป ที่สองคนไปทำงานมาแล้วก็เอามาแสดง แล้วฉันก็บอกว่าเฮ้ย จะเป็นไปได้ไง ถ้าเอาดินออกไปจากชีวิตฉันแล้วฉันก็ไม่ค่อยจะเหลืออะไรล่ะนะ ฮ่าๆ ไปๆมาๆเราก็เลยสรุปว่า เราจะทำอะไรเหมือนที่เราเคยทำนั่นแหละ เพียงแต่ว่าสิ่งที่จะนำมาแสดงในแกลอรี่จะเป็นช่วงเวลาที่ปกติแล้วทำมันในสตูดิโอของเราอย่างลับๆ แล้วเอาผลมาแสดง คราวนี้จะแสดงแต่ส่วนลับนั้น โดยที่ไม่มีงานสำเร็จแบบที่เราคุ้นเคยกัน แต่นอกเหนือจากนั้นหลักฐานของกระบวนการก็เลยจะเป็นการบันทึกในรูปต่างๆแทน

9 ตุลาคม 2019

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?
What’s a Rich Text element?

The rich text element allows you to create and format headings, paragraphs, blockquotes, images, and video all in one place instead of having to add and format them individually. Just double-click and easily create content.

Static and dynamic content editing

A rich text element can be used with static or dynamic content. For static content, just drop it into any page and begin editing. For dynamic content, add a rich text field to any collection and then connect a rich text element to that field in the settings panel. Voila!

How to customize formatting for each rich text

Headings, paragraphs, blockquotes, figures, images, and figure captions can all be styled after a class is added to the rich text element using the "When inside of" nested selector system.

This is a caption text.