All Log
All 
Thinking
Thinking

Goral and the glaze

4.10.2021
กวางผา ที่พบในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Burmese Goral และชื่อวิทยาศาสตร์ Nemorhaedus evansi มีสถานะเป็นสัตว์ป่าสงวน หากมองผิวเผินอาจคิดว่าเป็นเลียงผา เพราะลักษณะโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกัน และมีถิ่นที่อยู่อาศัยทับซ้อนกัน แต่กวางผานั้นมีขนาดเล็กกว่า
กวางผาจะมีขนสีน้ำตาลเทา (ส่วนเลียงผาที่โตเต็มไวจะมีสีดำ) บริเวณท้องมีสีจางกว่าลำตัว ขาหน้าทั้งสี่มีสีน้ำตาลแดง ขาท่อนล่างมีสีครีมคล้ายใส่ถุงเท้า บริเวณตา ริมฝีปาก คอ อก และโคนหางมีแต้มสีขาว เขาสั้นโค้งไปด้านหลัง หว่างเขาถึงหลังหูมีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจน และมีแผงขนสีน้ำตาลไหม้พาดผ่านจนถึงหาง หางสั้นและเป็นพุ่ม
ลักษณะนิสัยของกวางผาจะหากินบนที่ราบสูงที่เป็นภูเขาหรือหน้าผาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000–4,000 เมตร หากินทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในช่วงที่อาหารสมบูรณ์มักเลือกกินเฉพาะยอดอ่อนของพืช ส่วนในฤดูแล้งที่น้ำมีจำกัดมันมักกินพืชที่มีลำต้นอวบน้ำมากกว่าปรกติ
เนื่องจากถิ่นที่หากินและถิ่นที่อยู่อาศัยของกวางผาคือบริเวณหน้าผาสูง ทำให้ในประเทศไทยสามารถพบเห็นกวางผาได้บนดอยทางภาคเหนือเท่านั้น เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ฯลฯ

https://www.seub.or.th/bloging/into-the-wild/%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C/

เอ่ยถึงกวางผาขึ้นมาก็เพราะว่าวันหนึ่ง ได้ไปที่สถานที่หนึ่งซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตรหน่อยๆ สถานที่นี้เป็นหนึงในไม่กี่ที่ในประเทศไทยที่มีกวางผาอาศัยอยู่ ธรรมชาติก็งดงามและไปถึงได้ยากนิดนึง แต่มีความพิเศษจริงๆ ในฐานะของคนทำเครื่องปั้นดินเผาก็จะเห็นอะไรๆเป็นวัสดุ วัตถุดิบ และ สสาร อันมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงไปหากันเสมอๆ คราวนี้สิ่งที่สะกิดความสนใจจึงอยู่ที่ อึของมันนั่นเอง

มูลสัตว์กินพืชก็ย่อมมีไฟเบอร์ของพืชที่ย่อยไม่ได้อยู่เต็มไปหมด ไฟเบอร์นี้เมื่อเผาเป็นขี้เถ้าโดยทฤษฎีแล้วก็ย่อมจะกลายเป็นเคลือบได้ ก็เหมือนกับกิ่งไม้ใบไม้ทั่วไป เคลือบทีทำจากขี้เถ้าของมูลสัตว์กินพืชนั้นก็มีคนทดลองทำไว้มากมายไม่ใช่เรื่องใหม่ เช่นเคลือบขี้เถ้าขี้ช้าง ขี้เถ้าขี้กวางมูส ขี้เถ้าขี้หมู อะไรเทือกนี้ ดังนั้นคราวนี้จึงเก็บเอาขี้กวางผาจำนวนมาก เท่าที่จะเก็บได้ เอากลับมาที่สตูดิโอด้วย

ขี้ของกวางผา เก็บจากดอยหลวงเชียงดาว

เมื่อนำมาแยกหมวดหมู่ดูจึงพบว่า มีหลายสีและสัมผัส ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสดความแห้งเป็นประการที่หนึ่ง และอาหารที่มันกินเป็นประการที่สอง ขนาดของขี้กวางผานี้พอๆกับเม็ดกาแฟ เมื่ออยู่ในถุงสามารถหลอกคนได้เลยแหละ ไม่มีกลิ่นเหม็น นอกจากอันที่สดมากจะมีกลิ่นคล้ายหญ้าหมักๆ มีชนิดที่น่าสนใจเป็นเม็ดสีออกแดงคล้ายอิฐ นั่นคือมันกินดินโป่งเข้าไปนั่นเอง จึงมีดินออกมาจากลำใส้ด้วย

อันนี้คือเธอไปกินดินโป่งมา

พอกลับสตูดิโอก็เลยเอามาทดลองเผา ก็มีส่วนที่กลายเป็นแก้วจริงๆ สีน่าสนใจด้วย ถ้าจะทำน้ำเคลือบจริงๆก็คงจะต้องเตรียมให้เป็นขี้เถ้า แล้วผสมกับวัตถุดิบอื่นๆเพื่อให้เสถียร แล้วก็เอาไปเคลือบชิ้นงานนั่นแหละ

สิ่งที่คิดก็คือว่า ตอนที่อยู่ที่ยอดดอยหลวง เป็นความพยายามที่จะไต่ขึ้นไปในที่ที่สูงที่สุดของที่นั่น ยอดดอยเป็นที่พิเศษและคล้ายเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่แม้จะสูงแค่ไหนก็ยังต่ำกว่าขี้กวางผาอยู่หน่อยหนึ่ง และมูลสัตว์นั้นแม้จะดูเป็นสิ่งต่ำต้อยแต่ก็ยังอยู่สูงกว่ายอดดอยอยู่หน่อยหนึ่ง สิ่งสูงหรือต่ำนั้นยากจะแยกแยะ

กระบวนการที่จะนำมันมาทำเป็นเคลือบ(ก็คือแก้ว) ก็ได้เปลี่ยนผ่านจาก "เมื่อวานเป็นขี้ วันนี้เป็นแก้ว" มันน่าจะดีเหมือนกันนะ

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?

What’s a Rich Text element?
What’s a Rich Text element?

The rich text element allows you to create and format headings, paragraphs, blockquotes, images, and video all in one place instead of having to add and format them individually. Just double-click and easily create content.

Static and dynamic content editing

A rich text element can be used with static or dynamic content. For static content, just drop it into any page and begin editing. For dynamic content, add a rich text field to any collection and then connect a rich text element to that field in the settings panel. Voila!

How to customize formatting for each rich text

Headings, paragraphs, blockquotes, figures, images, and figure captions can all be styled after a class is added to the rich text element using the "When inside of" nested selector system.

This is a caption text.